จำหน่าย ไนโตรเจนเหลว บริสุทธิ์ 99.998% ที่ผลิตจากโรงแยกอากาศที่มีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัยราคาไม่แพง แบบส่งถึงที่ ณ จุดใช้งาน www.labexpress4u.com

ไนโตรเจน เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศที่เราหายใจเข้าไป แต่นอกเหนือจากการที่มันเป็นส่วนประกอบสำคัญในอากาศแล้ว มันยังสามารถนำมาทำให้กลายสภาพจาก๊าซกลายเป็นของเหลว และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องการผลิต อุตสาหกรรม การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ได้หลายอย่าง ปัจจุบัน การใช้ ไนโตรเจนเหลว มีความต้องการและเป็นที่นิยมมากขึ้น  แต่ทราบหรือไม่ว่า… กว่าที่ก๊าซชนิดหนึ่งจะกลายเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำที่เราสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายชนิดนี้ มันมีที่มาที่ไปและขั้นตอนกระบวนการในการผลิตอย่างไรบ้าง !?

ในการผลิต ไนโตรเจนเหลว นั้น เราไม่จำเป็นต้องไปหาวัตถุดิบอะไรที่ไหนให้ยุ่งยาก เพราะไนโตรเจนมีอยู่ทั่วไปในอากาศที่เราหายใจ เราก็ใช้อากาศธรรมดาๆ นี่แหละเอามาผ่านกระบวนการผลิต เริ่มต้นจากการอัดอากาศให้มีความหนาแน่นสูงด้วยการใช้เครื่องดูดอากาศเข้าไปในระบบ จากนั้นอัดให้อากาศไหลผ่าน สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เพื่อทำการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเราสามารถเขียนเป็นสมการทางเคมีได้ว่า CO2 + 2NaOH = NaCO3 + H2O จากนั้นอากาศที่ถูกแยกเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปแล้วจะนำมากรองด้วยน้ำมัน เพื่อแยกน้ำ ออกก่อนแล้วตามด้วยการนำเอาความชื้นออกไป ทำให้แห้งสนิทด้วยการใช้สารดูดความชื้น อะลูมินา (AL2O3) ซึ่งหลังจากผ่านขั้นตอนนี้อากาศที่เราอัดเข้าไปในระบบก็จะเหลือแค่ ไนโตรเจน กับ ออกซิเจนเท่านั้น จากนั้นก็มาถึงกระบวนการสำคัญที่เราจะต้องทำการแยกเอาก๊าซออกซิเจนที่เหลือกับไนโตรเจนออกจากกัน ซึ่งเราสามารถทำได้ด้วยการทำให้มันกลายเป็นของเหลวก่อน ซึ่งออกซิเจนสามารถกลายสภาพจากก๊าซไปเป็นของเหลวได้ด้วยการลดอุณหภูมิให้ต่ำลง เราก็จะใช้วิธีนี้ในการแยกก๊าซออกจากกัน ซึ่งอาศัยหลักการของการกลายสภาพเป็นของเหลวของก๊าซต่างชนิดที่มีอุณหภูมิไม่เท่ากัน ออกซิเจนจะกลายเป็นของเหลวก่อน ในระดับอุณหภูมิประมาณ – 183 องศาเซลเซียส ซึ่งเราก็จะสามารถแยกเอาออกซิเจนออกจากไนโตรเจนได้ทั้งหมด จากนั้นก็ยังคงลดอุณหภูมิต่อไปเพื่อให้ไนโตรเจนเปลี่ยนสภาพจากก๊าซไปเป็น ไนโตรเจนเหลว ซึ่งจะกลายสภาพในระดับอุณหภูมิ – 196 องศาเซลเซียส

นี่เป็นกระบวนการในการผลิต ไนโตรเจนเหลว ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องการลดอุณหภูมิสิ่งต่างๆ ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ เช่น การใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูป การแช่แข็ง การขนส่งอาหารที่ต้องการเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิต่ำๆ ในโรงงาน หรือภายในห้องแช่เย็นของรถบรรทุกหรือเรือ และยังสามารถนำมาใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อเก็บเนื้อเยื่อและตัวอย่างต่างๆ ตลอดจนถึงใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น การเก็บรักษาเลือด ไขกระดูก หรือแม้แต่การแช่แข็งอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน

Comments are closed.

Post Navigation