พ่อแม่ทุกคนมักมีความกังวลใจ ทุกครั้งเมื่อลูกมีไข้ และหากยิ่งลูกมีไข้สูง ตัวร้อน ก็ยิ่งสร้างความวิตกกังวลใจให้กับพ่อแม่ พยายามทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ลูกของเรากลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือและปกป้องลูกของเรา จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับพ่อแม่ทุกคน

อาการตัวร้อนเป็นไข้นั้นจะเกิดกับเด็กเล็ก ๆ แทบทุกคนจนเกือบจะเป็นเรื่องปกติ อาการไข้ คือ การที่อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงสูงกว่าปกติ   ซึ่งมักจะเป็นเหมือนสัญญาณเตือนบอกว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำลังทำงาน และกำลังต่อสู้อยู่กับเชื้อโรคบางอย่างที่บุกรุกเข้าสู่ร่างกาย เช่น แบคทีเรียหรือไวรัส  โดยที่ร่างกายจะไปกระตุ้นการผลิตของเซลล์เม็ดเลือดขาว   รวมถึงภูมิคุ้มกันอื่น ๆ เพื่อที่จะทำลายผู้บุกรุกนั้น จึงทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น แต่ค่าอุณหภูมิปกติของเด็กนั้นไม่เหมือนกับผู้ใหญ่  เพราะในเด็กนั้นค่าอุณหภูมิจะเปลี่ยนไปค่อนข้างหลากหลายระหว่างวัน  เช่น  เด็กใส่เสื้อหนาไป การร้องไห้นอนดิ้น  ออกแรงเยอะ หรืออยู่ในห้องที่มีอากาศ ร้อน  อุณหภูมิก็อาจพุ่งสูงขึ้นไปที่ประมาณ  38  องศาเซลเซียส   ซึ่งก็ถือว่ายังเป็นอุณหภูมิที่ปกติสำหรับเด็กเล็กที่สุขภาพสมบูรณ์ แต่ถ้าหากวัดปรอทแล้วได้อุณหภูมิสูงที่กว่านี้ นั้น แสดงว่าลูกอาจกำลังมีไข้

สาเหตุของอาการเป็นไข้ มีหลายสาเหตุ เช่น เป็นไข้ ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อในทางเดินหายใจ เด็กจะมีไข้ไอ น้ำมูก หายใจลำบาก เจ็บคอ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  เป็นอีสุกอีใส ติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ หรือไวรัสลงกระเพาะอาหาร  เด็กจะมีมีไข้ มีผื่นแดง และเจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบวมโต  อาการติดเชื้อในหู เด็กจะมีไข้ วิงเวียนศีรษะ ตาลาย พร้อมกับอาการปวด หรือมีเสียงแว่วในหู

ปกติการเด็กที่มีไข้ต่ำมักจะไม่เป็นอันตรายรุนแรงมากนักแต่บางคนที่มีระดับอุณหภูมิที่พุ่งขึ้นสูงนั้น อาจทำให้เกิดเป็นลมชักกได้ อาการของลมชักนั้น เด็กจะตัวซีด มีอาการตัวเกร็งแข็ง กระตุก แบบที่ควบคุมไม่ได้ และอาจหมดสติไป อาการจะเป็นนานประมาณ 1-2 นาที บางคนอาจถึง 10 นาที  โรคลมชักจากการเป็นไข้สูงนี้ มีโอกาสน้อยที่จะทำลายสมอง และยังไม่อันตรายเท่ากับการเป็นลมจากความร้อนภายนอก อย่างเช่นการที่เราปล่อยเด็กไว้กลางแดดเป็นเวลานาน ๆ หรืออาจทิ้งเด็กไว้ในรถที่จอดกลางแดดนานๆ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ทำแบบนี้มีโอกาสเป็นอันตรายมากกว่า

สำหรับวิธีดูแลรักษาในเด็กที่มีอาการเป็นไข้นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งพ่อแม่สามารถนำไปใช้ดูแลอาการไข้ของลูกได้  เช่นการ ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบายให้ลูก  ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนา คลายรัดชุดที่เด็กสวมใส่ให้หลวม ควรให้เด็กใส่เสื้อพวกผ้าฝ้ายเนื้อเบา

น้ำหนักเบา ห่มผ้าที่ไม่หนาเกินไป พยายามอย่าห่มตัว เพราะจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ยาก จะทำให้ไข้สูงขึ้นได้

พักผ่อนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ในอุณหภูมิห้องที่ไม่ร้อนไม่เย็นเกินไป ปรับอุณหภูมิในห้องที่เด็กอยู่ให้เย็นขึ้น อย่างน้อยควรมีพัดลมเปิดเบาๆ เพื่อพัดให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ร้อนเกินไป ระวังใบพัดให้ห่างจากมือเด็ก  ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกัน

ภาวะขาดน้ำ และช่วยชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีไข้  หากเด็กอาเจียนหรือมีท้องเสียร่วมด้วย ควรเพิ่มปริมาณอาหาร เครื่องดื่มตามปกติ เช่น นมแม่ หรือน้ำ และหากเด็กโตพอจที่จะดื่มเครื่องดื่มอื่น ๆ  ลองให้ลูกดื่มน้ำหวานซุปใส

หรือน้ำผลไม้เจือจางดูบ้าง  การเช็ดตัว สามารถช่วยลดอุณภูมิได้ คลายความร้อนด้วยการเช็ดตัวด้วยฟองน้ำหรือผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่น นออย่าให้ร้อนมากโดยกาเช็ดตัวด้วยน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 27-37 องซาเซลเซียส ไม่เกิน 40 องซาเซลเซียส จะช่วยให้หลอดเลือดของลูกขยายตัวทำให้การระบายความร้อนทำได้ดีขึ้น ควรเช็ดทีละส่วน ไม่ให้ตัวแห้งจนเกินไป จะทำให้ตัวลูกเย็นลงได้ และเช็ดตัวไปเรื่อย ๆ จนลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที จนกว่าไข้จะลด หากอาการไข้เกิดจากโรคติดต่อ พยายามให้ลูกอยู่ห่างจากเด็กอื่น ๆ และคนสูงอายุ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค

การให้ยาลดไข้ ก็เป็นสิ่งสำคัญ ยาลดไข้ส่วนใหญ่ที่ใช้ในเด็กนั้น คือยาพาราเซตามอล  ควรสังเกตบนฉลากยาถึงขนาดของยาที่ใช้ คำนวณตามน้ำหนักตัวเด็ก โดยทั่วไปแล้วแต่ละครั้งจะใช้ขนาด 10 มก. ต่อน้ำหนักตัว และไม่เกินกว่า 1,000 มก. ในแต่ละครั้ง

การดูแลอาการไข้ของลูกเรานั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่ก็คงไม่ยากเกินไปสำหรับพ่อแม่ทุกคน รายละเอียดเล็กๆน้อยๆบางอย่างหากเราใส่ใจและปฏิบัติตาม ก็จะสามารถช่วยให้ลูกน้อยของเรารู้สึกดีขึ้น และยังกลับมาแข็งแรง หายเป็นปกติได้เร็วขึ้นอีกด้วย

เครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งราคาถูก

Comments are closed.

Post Navigation